วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โครงการพัฒนาผู้เรียน

โครงการบูรณาการวิชาการ



            เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง) ได้จัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยมี นางรสสุคนธ์ กอและ (ผู้อำนวยการสถานศึกษา) เป็นประธานในพิธีการเปฺิดกิจกรรมในครั้งนี้ โครงการที่จัดขึ้นเป็นโครงการบูรณาการวิชาการระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาคอมพิวเตอร์ โดยนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 ถึง 3 เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย ภายในโครงการจะประกอบไปด้วย 6 ฐาน ดังนี้ ฐานเปิดโลก ICT สู่อาชีพ, ฐานเปิดโลก IT สู่อนาคต, ฐานเปลวไฟลอยน้ำ, ฐานสีเริงระบำ, ฐานการทดสอบหาแป้งในยาสีฟันและฐานกระแสไฟฟ้าจากผลไม้ เป็นต้น 

ฐานที่ 1 เปิดโลก ICT สู่อาชีพ


วัตถุดิบ
1. แป้งข้าวเหนียว              2. น้ำตาลแว่น
3. มะพร้าวขาวขูด              4. เกลือป่น
5. แครอท, อัญชัน, ใบเตย, ฟักทอง

วิธีทำ
1. นำแครอท, อัญชัน, ใบเตย, และฟักทอง มาหันเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อนำมาปั่น แล้วคั้นน้ำของแต่ละสีลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2. นำน้ำตาลแว่นมาหั่นให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ เตรียมน้ำที่สะอาด แล้วนำมาต้มให้เดือด
3. นำแป้งข้าวเหนียวใส่ลงในภาชนะ จากนั้นเอาน้ำที่คั้นไว้แล้ว 1 สีเทลงในแป้งจากนั้นนวดให้เข้ากัน ให้ปั้นเป็นก้อน แล้วกดให้แบน เอาน้ำตาลแว่นที่ตัดไว้ มาวางบนแป้ง แล้วปิดให้มิด
4. ใส่ก้อนแป้งที่ทำเสร็จแล้วลงไปต้ม พอแป้งสุก จะลอยตัวขึ้น ให้ตักใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ เอาลงไปคลุกกับมะพร้าวขูดผสมกับเกลือให้ทั่ว แล้วเอาใส่จาน
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....




ฐานที่ 2 โลก IT สู่อนาคต


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเกม
1. โปรเจคเตอร์
2. โน๊ตบุ๊ค

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในการสร้างเกมอย่างง่าย
       โปรแกรม Kodu  GAME LAB จากค่าย Microsoft เป็นโปรแกรมให้ใช้ฟรี ! โปรแกรมนี้มีกราฟฟิกสวยงาม ความสามารถพอตัว เหมาะใช้สอนการสร้างเกมให้กับเด็กๆ
      การสร้างเกมใน Kodu ใช้การคลิกไอคอนเป็นหลัก (icon-based) ตั้งแต่ออกแบบโลก 3 มิติของเกม สร้างตัวละครในเกม การดำเนินเรื่อง รวมถึงการเขียนโปรแกรมตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกม สิ่งหนึ่งที่หน้าสนใจกับโปรแกรมนี้ ก็คือนอกจากจะเขียนเกมด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดแล้ว ยังสามารถใช้เกมแพด (Gamepad) ในการเขียนเกมได้ เกมแพดใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกมไปในตัวระหว่างการสร้างเกม
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....


ฐานที่ 3 เปลวไฟลอยน้ำ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. เทียนไข
2. แก้วน้ำ
3. หมุดตัวหมวก หรือตะปูเกลียวเล็ก

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 ของแก้ว
2. นำหมุดหัวหมวกติดที่ปลายเทียนไข (ด้านป้าน)
3. หย่อนเทียนไขลงในน้ำ เทียนไขจะตั้งตรง
4. จุดเทียนไข เทียนไขจะติดไฟไปเรื่อย ๆ ไม่ดับ
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....



ฐานที่ 4 สีเริงระบำ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. นมสด             2. สีผสมอาหาร 2-3 สี
3. น้ำยาล้างจาน    4. จานโฟม
5. หลอดทดลอง

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้น้ำนมนิ่ง
2. หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1 หยด
3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปบนสีผสมอาหาร ทีละ 1 หยด และยังสามารถหยดน้ำยาล้างจานลงไปซ้ำได้เรื่อยๆ จนกว่าน้ำสีจะผสมกันจนกลายเป็นสีหม่นๆ


ฐานที่ 5 การทดสอบหาแป้งในยาสีฟัน


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. ยาสีฟัน                                    2. น้ำเปล่า
3. แก้วน้ำแบบใส                           4. หลอดหยด จำนวน 4 หลอด          
5. ช้อนสำหรับคน  จำนวน 4 อัน        6. ช้อนตวง                     
7. สารละลายไอโอดีน

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม
2. นำแก้วน้ำมาวางเรียงกัน ตักยาสีฟัน ทั้ง 4 ยี่ห้อ ใส่ลงในแก้วที่เตรียมไว้
3. เทน้ำเปล่าใส่ลงในแก้วน้ำใช้แท่งคนแก้วคนน้ำเปล่าและยาสีฟันให้ละลายเข้ากัน นำหลอดหยดที่บรรจุสารละลาย แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนสี 
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....



ฐานที่ 6 กระแสไฟฟ้าจากผลไม้


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. แอมมิเตอร์ เพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้า                2. หลอด LED
3. แผ่นทองแดงและ แผ่นสังกะสี                     4. สายไฟ
5. ผลไม้ (มะนาว ส้ม สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล)

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง
2. นำแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีมาเสียบลงในผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ลึกประมาณ 1-๒ ซม.
3. นำสายสีแดงของแอมมิเตอร์จับที่ขั้วบวก (ทองแดง) และสายสีดำจับที่ขั้วลบ (สังกะสี) อ่านค่าบนเครื่องแอมมิเตอร์ แล้วบันทึกผล
4. เปลี่ยนจากเครื่องแอมมิเตอร์เป็นหลอดไฟ LED ของผลไม้ทั้ง 5 ชนิด สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟ (ไฟสว่างหรือไม่สว่าง)
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น