วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ความเป็นมาของการสอนผ่านเว็บ

  • เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
  • เริ่มเข้ามาเป็น ที่รู้จักในวงการศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ที่ผ่านมา
  • เว็บได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและ กลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่
  • โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
  • รวมทั้งการนำการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วย ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่

ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web based Instruction) 

มีผู้นิยามให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเอาไว้หลายนิยาม ได้แก่
คลาร์ก (Clark, 1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคล และแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้โดยผ่านเครือข่าย

ดริสคอล (Driscoll, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการใช้ทักษะหรือความรู้ต่างๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น

ลักษณะสำคัญของการสอนผ่านเว็บช่วยสอน

1. การนำเสนอ (Presentation) ในลักษณะของเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพกราฟิกโดยมีวิธี
การนำเสนอ คือดังนี้
1.1 การนำเสนอแบบสื่อเดี่ยว เช่น ข้อความ หรือ รูปภาพ
1.2 การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความกับรูปภาพ
1.3 การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง
2. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ
2.1 การสื่อสารทางเดียว เช่น การดูข้อมูลจากเว็บเพจ
2.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
2.3 การสื่อสารแบบหนึ่งแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความจากแหล่งเดียวแพร่กระจายไปหลายแหล่ง เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอื่นๆ ได้รับฟังด้วยหรือการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer conferencing)
2.4 การสื่อสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มในการสื่อสารบนเว็บ โดยมีคนใช้หลายคนและคนรับหลายคนเช่นกัน
3. การทำให้เกิดความสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตและสำคัญที่สุด
 ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
3.1 การสืบค้นข้อมูล
3.2 การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
3.3 การตอบสนองของมนุษย์ต่อการใช้เว็บ

ขั้นตอนการพัฒนาการสอนผ่านเว็บ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น
4. การเตรียมความพร้อมและสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนผ่านเว็บ
5. การปฐมนิเทศผู้เรียน
6. จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กำหนดไว้ โดยในเว็บเพจ
7. การประเมินผล

ข้อแตกต่างระหว่างการสอนผ่านเว็บและห้องเรียนปกติ

การสอนผ่านเว็บ
  • สนับสนุนให้นักเรียนใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับกลุ่มผู้เรียน
  • มีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  • ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นและการเรียนการสอนก็ทั่วถึง
  • ผู้เรียนสามารถกำหนดและเลือกหัวเรื่องที่ต้องการเรียน
ห้องเรียนปกติ
  • เน้นให้ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน
  • ผู้สอนเป็นฝ่ายพูดและแสดงความคิดเห็นมากกว่าผู้เรียน
  • การเรียนการสอนถูกจำกัดในห้องเรียน
  • ใช้หนังสือหรือตำราในการค้นคว้า

สรุป

การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบอย่างมีระบบ โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แหล่งที่มา



วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้

งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้ 
Southern Border Halal International Fair 2015
(SHIF 2015)




            คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมหลายหน่วยงานในพื้นที่ จชต. จัดงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านฮาลาล (Southern Border Halal International Fair 2015 (SHIF 2015) ที่จะจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 8-10 กันยายน 2558 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

          ดร.พงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานการประชุมสัมมนาทางออกของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านฮาลาล (Southern Border Halal International Fair 2015 (SHIF 2015) ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2015 โดยมี พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นายอุดร น้อยทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ประธานคณะกรรมการอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนา อีหม่าม ส่วนราชการในพื้นที่ เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน  ซึ่งนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ร่วมกล่าวดูอาร์เปิดงาน





          ในครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งแรก โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างมิติใหม่ด้านอาหารฮาลาลประเทศไทยระดับอาเซียนและนานาชาติ ซึ่งในงานครั้งนี้ประกอบไปด้วยการประชุมคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทยสัญจรการประชุมอีหม่ามจาก 3,000 มัสยิด ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเสวนาศักยภาพฮาลาลไทย การเสวนาทางออกของปัญหาชายแดนภาคใต้ การเสวนาศักยภาพนักธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมและงานคุ้มครองผู้บริโภค การจัดนิทรรศการ Sultan of Science นิทรรศการ Demo Lab นิทรรศการคัมภีร์กุรอานและกีตาบโบราณ อีกทั้งมีการจัดแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการจากผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียนิทรรศการหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนจำนวน 200 บู๊ท


>>>บรรยากาศภายในงาน<<<