วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แผนการสอน โดยใช้โปรแกรม eXe




รูปโปรแกรม eXe

ลิงค์ สำหรับดู ตัวอย่าง แผนการสอนโดยใช้โปรแกรม eXe

https://drive.google.com/open?id=0B9_DNQZW2ORKSE9MNEE1Q0NVUUU





รูปซอฟต์แวร์ Cacoo

สรุป แผนการสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์







แผนผังมโนทัศน์ โดยใช้ Cacoo




วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คู่มือการใช้โปรแกรม eXe




แนะนำโปรแกรม eXe

        eXe ย่อมาจาก elearning XHTML editor หรือ eXe editor โปรแกรม eXe ได้รับการพัฒนาจาก The Auckland University of Technology และ Tairawhiti Polytechnic โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Tertiary Education Commission of New Zealand ซึ่งมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกร่วมกันพัฒนาภายใต้    
        โครงการ The eXe project โครงการ The eXe project เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เทคโนโลยีของการออกแบบและการตีพิมพ์เว็บไซต์มาใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลการศึกษาของโครงการ พบว่า ในปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ (web authoring tools) อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ใช้งานยากและต้องอาศัยทักษะรวมถึงความเข้าใจในระดับหนึ่งจึงจะสามารถใช้งานได้ ในขณะที่ครู อาจารย์ นักวิชาการและนักการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาสื่อออนไลน์ เพื่อหวังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ทำให้โครงการนี้สร้างเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์

ข้อดีของโปรแกรม eXe

1. ใช้เทคโนโลยีภาษาคอมพิวเตอร์ Python ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาบนโปรแกรม web browser Firefox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี (open source)
2. เป็นโปรแกรม Open Source สำหรับการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ (e-book) ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
3. สามารถทำแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน SCORM

ข้อจำกัดของโปรแกรม eXe 

1. การสร้างแบบฟอร์มรูปแบบต่างๆ ต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 'instructional devices' หรือ iDevices

การติดตั้งโปรแกรม 

1. ดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ http://exelearning.org มาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาในไดร์ฟที่ดาวน์โหลดโปรแกรมมาเก็บไว้ เช่น ไฟล์eXe-install-1.04.1.exe
3. จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้งโปรแกรม มีข้อความต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม eXe รุ่น 1.04.1 ซึ่งตัวช่วยการติดตั้ง (wizard) จะมีข้อความแนะนำการติดตั้งโปรแกรมตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น ในหน้าต่างนี้แนะนำให้ปิดโปรแกรมทั้งหมดก่อนทำการติดตั้งโปรแกรม eXe เพราะอาจมีการปรับปรุงไฟล์ระบบและไม่ต้องการเปิดเครื่องใหม่ (reboot computer)
4. ให้คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
5. จะแสดงหน้าต่าง License Agreement มีข้อความที่เป็นข้อตกลงในการใช้งานโปรแกรม eXe
6. ให้คลิกปุ่ม I Agree เป็นการยอมรับข้อตกลง
7. จะแสดงหน้าต่าง Choose Install Location ซึ่งเป็นการเลือกที่จัดเก็บโปรแกรม ซึ่งกำหนดไว้ที่ c:\Program Files\exe หากต้องการติดตั้งโปรแกรมไว้ที่อื่น ให้คลิกที่ปุ่ม Browse… เพื่อเปลี่ยนที่ทำการติดตั้ง
8. เมื่อเลือกที่ทำการติดตั้งโปรแกรมได้แล้ว (ในที่นี้ให้ใช้ที่โปรแกรมกำหนดไว้) ให้คลิกปุ่ม Install เพื่อ
ทำการติดตั้งโปรแกรม
9. จะแสดงหน้าต่าง Installing ซึ่งแสดงความก้าวหน้าในการติดตั้งโปรแกรม
10. เมื่อโปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะแสดงหน้าต่าง Completing
11. ให้คลิกปุ่ม Finish เป็นการเสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม




แหล่งที่มา

http://www.maerim.ac.th/www/pkru/jarrin/manual_eXe.pdf


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเรียนการสอนผ่านเว็บ


องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเว็บ






https://cacoo.com/diagrams/Mbr6OwM4I4tihPPv





ขั้นตอนการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ 
โดยใช้ขั้นตอนของ ADDIE MODEL

               ADDIE MODEL ADDIE MODEL คือ การออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการ สอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจําลองจํานวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้และสําหรับตามความ ประสงค์ทางการสอนต่างๆ 





https://cacoo.com/diagrams/HQmuubkM0aq93MFC#

1. องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน

-  การพัฒนาเนื้อหา
-  ทฤษฎีการเรียนรู้
-  การออกแบบระบบการสอน
-  การพัฒนาหลักสูตร
-  มัลติมีเดีย
-  ข้อความและกราฟิก
-  ภาพเคลื่อนไหว
-  การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
-  เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต
-  เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร

2. องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการเชื่อมต่อระยะไกล

-  Telnet , File Transfer Protocol ( FTP ) เป็นต้น
-   เครื่องมือช่วยนำทางในอินเทอร์เน็ต (ฐานข้อมูลและเว็บเพจ) Gopher, Lynx
-   เครื่องมือช่วยค้นและเครื่องมืออื่นๆ Search Engine Counter Tool
-   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบและซอฟต์แวร์
-   ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Unix , Window NT , Window 98 , Dos , Macintosh
-   ซอฟต์แวร์ให้บริการเครือข่าย ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
-   อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
-   โมเด็ม
-   รูปแบบการเชื่อมต่อ ความเร็ว 33.6 Kbps, 56 Kbps , สายโทรศัพท์ , ISDN , T1 , Satellite เป็นต้น
-   ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต , เกตเวย์

 3. องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม

โปรแกรมภาษา ( HTML : Hypertext Markup Language ,JAVA , JAVA Script ,CGI Script , Pearl , Active X )
-  เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม เช่น FrontPage , FrontPage Express , Hotdog , Home siteเป็นต้น
-  ระบบให้บริการอินเทอร์เน็ต
-  HTTP Servers , Web Site , URL
-  CGI ( Common Gateway Interface )
-  โปรแกรมบราวเซอร์



กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE MODEL 
สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไป ได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย 

1. Analysis (การวิเคราะห์) 
2. Design (การออกแบบ) 
3. Development (การพัฒนา) 
4. Implementation (การนำไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล) 

1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขนตอนการออกแบบการสอน
ขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านจะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอน การออกแบบต่อไป

2. ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับ พัฒนาการสอน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการ วินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์และขยายผลการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 

1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และ แบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) 
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) (ขั้นตอนการเขียน ผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของ จอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้ 

1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
4. การกำหนดสีได้แก่สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ 
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน 

3. ขั้นการพัฒนา (Development) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้ คือ สร้าง แผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน ้ และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 

1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบ ดังนี้  

1.1 การเตรียมข้อความ 
1.2 การเตรียมภาพ 
1.3 การเตรียมเสียง 
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน 

2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่นเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบรอยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็น การตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน 

4. ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้น เรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียน จากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับ กลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและ ประสิทธิภาพ 

5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติโดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผล ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จะดำเนินการดังนี้

 5.1 การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้คือ เพื่อ ปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล 
5.2 การประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่น จะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรอจะดำเนินการต่อไปหรือไม่) 


ที่มา : http://blog.msu.ac.th/?p=4833

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ความเป็นมาของการสอนผ่านเว็บ

  • เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
  • เริ่มเข้ามาเป็น ที่รู้จักในวงการศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ที่ผ่านมา
  • เว็บได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและ กลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่
  • โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
  • รวมทั้งการนำการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วย ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่

ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web based Instruction) 

มีผู้นิยามให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเอาไว้หลายนิยาม ได้แก่
คลาร์ก (Clark, 1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคล และแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้โดยผ่านเครือข่าย

ดริสคอล (Driscoll, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการใช้ทักษะหรือความรู้ต่างๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น

ลักษณะสำคัญของการสอนผ่านเว็บช่วยสอน

1. การนำเสนอ (Presentation) ในลักษณะของเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพกราฟิกโดยมีวิธี
การนำเสนอ คือดังนี้
1.1 การนำเสนอแบบสื่อเดี่ยว เช่น ข้อความ หรือ รูปภาพ
1.2 การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความกับรูปภาพ
1.3 การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง
2. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ
2.1 การสื่อสารทางเดียว เช่น การดูข้อมูลจากเว็บเพจ
2.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
2.3 การสื่อสารแบบหนึ่งแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความจากแหล่งเดียวแพร่กระจายไปหลายแหล่ง เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอื่นๆ ได้รับฟังด้วยหรือการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer conferencing)
2.4 การสื่อสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มในการสื่อสารบนเว็บ โดยมีคนใช้หลายคนและคนรับหลายคนเช่นกัน
3. การทำให้เกิดความสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตและสำคัญที่สุด
 ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
3.1 การสืบค้นข้อมูล
3.2 การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
3.3 การตอบสนองของมนุษย์ต่อการใช้เว็บ

ขั้นตอนการพัฒนาการสอนผ่านเว็บ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น
4. การเตรียมความพร้อมและสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนผ่านเว็บ
5. การปฐมนิเทศผู้เรียน
6. จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กำหนดไว้ โดยในเว็บเพจ
7. การประเมินผล

ข้อแตกต่างระหว่างการสอนผ่านเว็บและห้องเรียนปกติ

การสอนผ่านเว็บ
  • สนับสนุนให้นักเรียนใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับกลุ่มผู้เรียน
  • มีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  • ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นและการเรียนการสอนก็ทั่วถึง
  • ผู้เรียนสามารถกำหนดและเลือกหัวเรื่องที่ต้องการเรียน
ห้องเรียนปกติ
  • เน้นให้ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน
  • ผู้สอนเป็นฝ่ายพูดและแสดงความคิดเห็นมากกว่าผู้เรียน
  • การเรียนการสอนถูกจำกัดในห้องเรียน
  • ใช้หนังสือหรือตำราในการค้นคว้า

สรุป

การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบอย่างมีระบบ โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แหล่งที่มา



วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้

งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้ 
Southern Border Halal International Fair 2015
(SHIF 2015)




            คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมหลายหน่วยงานในพื้นที่ จชต. จัดงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านฮาลาล (Southern Border Halal International Fair 2015 (SHIF 2015) ที่จะจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 8-10 กันยายน 2558 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

          ดร.พงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานการประชุมสัมมนาทางออกของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านฮาลาล (Southern Border Halal International Fair 2015 (SHIF 2015) ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2015 โดยมี พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นายอุดร น้อยทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ประธานคณะกรรมการอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนา อีหม่าม ส่วนราชการในพื้นที่ เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน  ซึ่งนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ร่วมกล่าวดูอาร์เปิดงาน





          ในครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งแรก โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างมิติใหม่ด้านอาหารฮาลาลประเทศไทยระดับอาเซียนและนานาชาติ ซึ่งในงานครั้งนี้ประกอบไปด้วยการประชุมคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทยสัญจรการประชุมอีหม่ามจาก 3,000 มัสยิด ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเสวนาศักยภาพฮาลาลไทย การเสวนาทางออกของปัญหาชายแดนภาคใต้ การเสวนาศักยภาพนักธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมและงานคุ้มครองผู้บริโภค การจัดนิทรรศการ Sultan of Science นิทรรศการ Demo Lab นิทรรศการคัมภีร์กุรอานและกีตาบโบราณ อีกทั้งมีการจัดแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการจากผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียนิทรรศการหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนจำนวน 200 บู๊ท


>>>บรรยากาศภายในงาน<<<










วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้

สัมมนาและอบรม เรื่องการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แผนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการไอซีที





การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21




เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน

ไอซีทีเป็นสื่อเสริมการสอนของครูสำหรับเวลาให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนอกชั้นเรียน 
ไอซีทีเป็นสื่อในการค้นคว้าข้อมูลในเนื้อหาเพิ่มเติม ช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถูกต้องครบถ้วน
ไอซีทีเป็นเครื่องมือการในสื่อสารของครูกับผู้เรียน เมื่อไปฝึกงาน ทำกิจกรรมต่างๆ

ไอซีทีเป็นนวัตกรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัยของผู้เรียนในยุคดิจิตัล

รูปแบบการสอน



1. การสอนแบบ MIAP 



การสอนแบบ MIAP  ประกอบด้วย 

Motivation (ขั้นสนใจปัญหา/การจูงใจผู้เรียน)  คือ 
การกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าบทเรียนอาจจะเป็นการ
เล่าเรื่องที่น่าสนใจ การใช้คำถามนำ การแสดงหรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้ผู้เข้าเรียนรู้สึก 

Information (ขั้นสนใจข้อมูล) คือ ขั้นตอนนี้จะเป็นการให้เนื้อหากับผู้เข้าอบรม เป็นขั้นตอนของสาระ เนื้อหา รายละเอียดและความรู้ต่างๆจะอยู่ในช่วงนี้

Application (ขั้นนำข้อมูลมาทดลองใช้) คือ ขั้นตอนที่ต้องการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ให้อธิบายให้ฟัง หรือให้แสดงให้ดู ให้ปฏิบัติจริง


Progress (ขั้นประเมินผล) คือ ขั้นตอนนี้ก็จะต่อเนื่องกับช่วง Application เราก็จะนำเอาผลของการสอบ การปฏิบัติมาทำการตรวจสอบว่าผ่านตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 



2. Flipped Classroom 



Flipped Classroom (การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน) คือ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนโดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการบ้านที่ได้รับผ่านการเรียนด้วยตนเองจากสื่อวิดีทัศน์ ( Video )นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียนในชั้นเรียนปกตินั้นจะเป็นการเรียนแบบสืบค้นหาความรู้ที่ได้รับร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือชี้แนะ








3. Blended leaning 


Blended leaning (การเรียนแบบผสมผสาน) คือ กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน
การเรียนแบบผสมผสาน สามารถนำมาสรุปได้เป็น 3 มิติ คือ 
         - การผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน 
         - การผสมผสานวิธีการเรียนการสอน 

         - การผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนออนไลน์


4. Imagineering 



Imagineering (การเรียนแบบจินตวิศวกรรม) คือ การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปสู่ผลงานที่เป็นนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 
              - จินตนาการ         
              - ออกแบบ
              - พัฒนา               
              - นำเสนอ
              - ปรับปรุง            
              - ประเมินผล






5. PJBL 






      PJBL (การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน) คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รู้จักการวางแผนการทำงานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สื่อสารและทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ตลอดจนประเมินผลงานและการทำงานของตนเองได้  ประกอบด้วย

                    - การเตรียมความพร้อม
                    - การกำหนดและเลือกหัวข้อ
                    - การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
                    - การปฏิบัติโครงงาน
                    - การนำเสนอผลงาน
                    - การประเมินผล



6. PBL




     PBL (การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน) คือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง

          ขั้นตอน PBL บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21

             ขั้นที่ การเตรียมความพร้อม
                  - ผู้สอนจัดเตรียมขอบเขตของโครงการ
                  - แหล่งข้อมูลและคำถามนำ
                  - โดยระบุขั้นตอนในแผนการจัดการเรียนรู้

              ขั้นที่ 2 การกำหนดและเลือกหัวข้อ
                  - กลุ่มผู้เรียนร่วมกันกำหนดหัวข้อที่จะทำเป็นโครงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อ เพื่อเลือกโครงงานที่จะจัดทำ นำเสนอผู้สอนให้ความเห็นชอบ
            
               ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
                  - ผู้เรียนศึกษาขอบเขตโครงงาน แหล่งข้อมูลแล้วร่างวางแผนการจัดทำโครงงาน โดยระบุกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ ภาระงานของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนระยะเวลาในการดำเนินงาน

                ขั้นที่ 4 การปฏิบัติโครงงาน
                   - สมาชิกในกลุ่มร่วมดำเนินงานตามแผนงานและหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยการบูรณาการ ความรู้ ทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่ โดยมีผูสอนคอยให้คำปรึกษาและหรือร่วมแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับผู้เรียน

                 ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงาน
                    - ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานกิจกรรมของโครงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

                  ขั้นที่ 6 การประเมินผล
                    - ผู้สอนประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง ทั้งความรู้กระบวนการ ผลงานและพฤติกรรมลักษณะนิสัยของผู้เรียน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------