วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้

สัมมนาและอบรม เรื่องการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แผนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการไอซีที





การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21




เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน

ไอซีทีเป็นสื่อเสริมการสอนของครูสำหรับเวลาให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนอกชั้นเรียน 
ไอซีทีเป็นสื่อในการค้นคว้าข้อมูลในเนื้อหาเพิ่มเติม ช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถูกต้องครบถ้วน
ไอซีทีเป็นเครื่องมือการในสื่อสารของครูกับผู้เรียน เมื่อไปฝึกงาน ทำกิจกรรมต่างๆ

ไอซีทีเป็นนวัตกรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัยของผู้เรียนในยุคดิจิตัล

รูปแบบการสอน



1. การสอนแบบ MIAP 



การสอนแบบ MIAP  ประกอบด้วย 

Motivation (ขั้นสนใจปัญหา/การจูงใจผู้เรียน)  คือ 
การกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าบทเรียนอาจจะเป็นการ
เล่าเรื่องที่น่าสนใจ การใช้คำถามนำ การแสดงหรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้ผู้เข้าเรียนรู้สึก 

Information (ขั้นสนใจข้อมูล) คือ ขั้นตอนนี้จะเป็นการให้เนื้อหากับผู้เข้าอบรม เป็นขั้นตอนของสาระ เนื้อหา รายละเอียดและความรู้ต่างๆจะอยู่ในช่วงนี้

Application (ขั้นนำข้อมูลมาทดลองใช้) คือ ขั้นตอนที่ต้องการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ให้อธิบายให้ฟัง หรือให้แสดงให้ดู ให้ปฏิบัติจริง


Progress (ขั้นประเมินผล) คือ ขั้นตอนนี้ก็จะต่อเนื่องกับช่วง Application เราก็จะนำเอาผลของการสอบ การปฏิบัติมาทำการตรวจสอบว่าผ่านตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 



2. Flipped Classroom 



Flipped Classroom (การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน) คือ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนโดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการบ้านที่ได้รับผ่านการเรียนด้วยตนเองจากสื่อวิดีทัศน์ ( Video )นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียนในชั้นเรียนปกตินั้นจะเป็นการเรียนแบบสืบค้นหาความรู้ที่ได้รับร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือชี้แนะ








3. Blended leaning 


Blended leaning (การเรียนแบบผสมผสาน) คือ กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน
การเรียนแบบผสมผสาน สามารถนำมาสรุปได้เป็น 3 มิติ คือ 
         - การผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน 
         - การผสมผสานวิธีการเรียนการสอน 

         - การผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนออนไลน์


4. Imagineering 



Imagineering (การเรียนแบบจินตวิศวกรรม) คือ การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปสู่ผลงานที่เป็นนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 
              - จินตนาการ         
              - ออกแบบ
              - พัฒนา               
              - นำเสนอ
              - ปรับปรุง            
              - ประเมินผล






5. PJBL 






      PJBL (การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน) คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รู้จักการวางแผนการทำงานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สื่อสารและทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ตลอดจนประเมินผลงานและการทำงานของตนเองได้  ประกอบด้วย

                    - การเตรียมความพร้อม
                    - การกำหนดและเลือกหัวข้อ
                    - การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
                    - การปฏิบัติโครงงาน
                    - การนำเสนอผลงาน
                    - การประเมินผล



6. PBL




     PBL (การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน) คือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง

          ขั้นตอน PBL บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21

             ขั้นที่ การเตรียมความพร้อม
                  - ผู้สอนจัดเตรียมขอบเขตของโครงการ
                  - แหล่งข้อมูลและคำถามนำ
                  - โดยระบุขั้นตอนในแผนการจัดการเรียนรู้

              ขั้นที่ 2 การกำหนดและเลือกหัวข้อ
                  - กลุ่มผู้เรียนร่วมกันกำหนดหัวข้อที่จะทำเป็นโครงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อ เพื่อเลือกโครงงานที่จะจัดทำ นำเสนอผู้สอนให้ความเห็นชอบ
            
               ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
                  - ผู้เรียนศึกษาขอบเขตโครงงาน แหล่งข้อมูลแล้วร่างวางแผนการจัดทำโครงงาน โดยระบุกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ ภาระงานของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนระยะเวลาในการดำเนินงาน

                ขั้นที่ 4 การปฏิบัติโครงงาน
                   - สมาชิกในกลุ่มร่วมดำเนินงานตามแผนงานและหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยการบูรณาการ ความรู้ ทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่ โดยมีผูสอนคอยให้คำปรึกษาและหรือร่วมแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับผู้เรียน

                 ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงาน
                    - ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานกิจกรรมของโครงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

                  ขั้นที่ 6 การประเมินผล
                    - ผู้สอนประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง ทั้งความรู้กระบวนการ ผลงานและพฤติกรรมลักษณะนิสัยของผู้เรียน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------