วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แผนการสอน โดยใช้โปรแกรม eXe




รูปโปรแกรม eXe

ลิงค์ สำหรับดู ตัวอย่าง แผนการสอนโดยใช้โปรแกรม eXe

https://drive.google.com/open?id=0B9_DNQZW2ORKSE9MNEE1Q0NVUUU





รูปซอฟต์แวร์ Cacoo

สรุป แผนการสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์







แผนผังมโนทัศน์ โดยใช้ Cacoo




วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คู่มือการใช้โปรแกรม eXe




แนะนำโปรแกรม eXe

        eXe ย่อมาจาก elearning XHTML editor หรือ eXe editor โปรแกรม eXe ได้รับการพัฒนาจาก The Auckland University of Technology และ Tairawhiti Polytechnic โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Tertiary Education Commission of New Zealand ซึ่งมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกร่วมกันพัฒนาภายใต้    
        โครงการ The eXe project โครงการ The eXe project เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เทคโนโลยีของการออกแบบและการตีพิมพ์เว็บไซต์มาใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลการศึกษาของโครงการ พบว่า ในปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ (web authoring tools) อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ใช้งานยากและต้องอาศัยทักษะรวมถึงความเข้าใจในระดับหนึ่งจึงจะสามารถใช้งานได้ ในขณะที่ครู อาจารย์ นักวิชาการและนักการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาสื่อออนไลน์ เพื่อหวังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ทำให้โครงการนี้สร้างเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์

ข้อดีของโปรแกรม eXe

1. ใช้เทคโนโลยีภาษาคอมพิวเตอร์ Python ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาบนโปรแกรม web browser Firefox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี (open source)
2. เป็นโปรแกรม Open Source สำหรับการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ (e-book) ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
3. สามารถทำแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน SCORM

ข้อจำกัดของโปรแกรม eXe 

1. การสร้างแบบฟอร์มรูปแบบต่างๆ ต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 'instructional devices' หรือ iDevices

การติดตั้งโปรแกรม 

1. ดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ http://exelearning.org มาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาในไดร์ฟที่ดาวน์โหลดโปรแกรมมาเก็บไว้ เช่น ไฟล์eXe-install-1.04.1.exe
3. จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้งโปรแกรม มีข้อความต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม eXe รุ่น 1.04.1 ซึ่งตัวช่วยการติดตั้ง (wizard) จะมีข้อความแนะนำการติดตั้งโปรแกรมตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น ในหน้าต่างนี้แนะนำให้ปิดโปรแกรมทั้งหมดก่อนทำการติดตั้งโปรแกรม eXe เพราะอาจมีการปรับปรุงไฟล์ระบบและไม่ต้องการเปิดเครื่องใหม่ (reboot computer)
4. ให้คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
5. จะแสดงหน้าต่าง License Agreement มีข้อความที่เป็นข้อตกลงในการใช้งานโปรแกรม eXe
6. ให้คลิกปุ่ม I Agree เป็นการยอมรับข้อตกลง
7. จะแสดงหน้าต่าง Choose Install Location ซึ่งเป็นการเลือกที่จัดเก็บโปรแกรม ซึ่งกำหนดไว้ที่ c:\Program Files\exe หากต้องการติดตั้งโปรแกรมไว้ที่อื่น ให้คลิกที่ปุ่ม Browse… เพื่อเปลี่ยนที่ทำการติดตั้ง
8. เมื่อเลือกที่ทำการติดตั้งโปรแกรมได้แล้ว (ในที่นี้ให้ใช้ที่โปรแกรมกำหนดไว้) ให้คลิกปุ่ม Install เพื่อ
ทำการติดตั้งโปรแกรม
9. จะแสดงหน้าต่าง Installing ซึ่งแสดงความก้าวหน้าในการติดตั้งโปรแกรม
10. เมื่อโปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะแสดงหน้าต่าง Completing
11. ให้คลิกปุ่ม Finish เป็นการเสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม




แหล่งที่มา

http://www.maerim.ac.th/www/pkru/jarrin/manual_eXe.pdf


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเรียนการสอนผ่านเว็บ


องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเว็บ






https://cacoo.com/diagrams/Mbr6OwM4I4tihPPv





ขั้นตอนการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ 
โดยใช้ขั้นตอนของ ADDIE MODEL

               ADDIE MODEL ADDIE MODEL คือ การออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการ สอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจําลองจํานวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้และสําหรับตามความ ประสงค์ทางการสอนต่างๆ 





https://cacoo.com/diagrams/HQmuubkM0aq93MFC#

1. องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน

-  การพัฒนาเนื้อหา
-  ทฤษฎีการเรียนรู้
-  การออกแบบระบบการสอน
-  การพัฒนาหลักสูตร
-  มัลติมีเดีย
-  ข้อความและกราฟิก
-  ภาพเคลื่อนไหว
-  การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
-  เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต
-  เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร

2. องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการเชื่อมต่อระยะไกล

-  Telnet , File Transfer Protocol ( FTP ) เป็นต้น
-   เครื่องมือช่วยนำทางในอินเทอร์เน็ต (ฐานข้อมูลและเว็บเพจ) Gopher, Lynx
-   เครื่องมือช่วยค้นและเครื่องมืออื่นๆ Search Engine Counter Tool
-   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบและซอฟต์แวร์
-   ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Unix , Window NT , Window 98 , Dos , Macintosh
-   ซอฟต์แวร์ให้บริการเครือข่าย ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
-   อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
-   โมเด็ม
-   รูปแบบการเชื่อมต่อ ความเร็ว 33.6 Kbps, 56 Kbps , สายโทรศัพท์ , ISDN , T1 , Satellite เป็นต้น
-   ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต , เกตเวย์

 3. องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม

โปรแกรมภาษา ( HTML : Hypertext Markup Language ,JAVA , JAVA Script ,CGI Script , Pearl , Active X )
-  เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม เช่น FrontPage , FrontPage Express , Hotdog , Home siteเป็นต้น
-  ระบบให้บริการอินเทอร์เน็ต
-  HTTP Servers , Web Site , URL
-  CGI ( Common Gateway Interface )
-  โปรแกรมบราวเซอร์



กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE MODEL 
สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไป ได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย 

1. Analysis (การวิเคราะห์) 
2. Design (การออกแบบ) 
3. Development (การพัฒนา) 
4. Implementation (การนำไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล) 

1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขนตอนการออกแบบการสอน
ขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านจะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอน การออกแบบต่อไป

2. ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับ พัฒนาการสอน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการ วินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์และขยายผลการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 

1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และ แบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) 
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) (ขั้นตอนการเขียน ผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของ จอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้ 

1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
4. การกำหนดสีได้แก่สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ 
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน 

3. ขั้นการพัฒนา (Development) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้ คือ สร้าง แผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน ้ และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 

1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบ ดังนี้  

1.1 การเตรียมข้อความ 
1.2 การเตรียมภาพ 
1.3 การเตรียมเสียง 
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน 

2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่นเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบรอยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็น การตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน 

4. ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้น เรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียน จากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับ กลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและ ประสิทธิภาพ 

5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติโดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผล ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จะดำเนินการดังนี้

 5.1 การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้คือ เพื่อ ปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล 
5.2 การประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่น จะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรอจะดำเนินการต่อไปหรือไม่) 


ที่มา : http://blog.msu.ac.th/?p=4833