วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การจัดการสารสนเทศ

 การจัดการสารสนเทศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการสารสนเทศ

          ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
                   ข้อมูล (Data) คือ สิ่งต่างๆ หรือข้อเท็จจริงที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์หรือการประมวลผล โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

           การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ใช้
ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา

           ตัวอย่าง   การแบ่งข้อมูล 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล   เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง

2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ   โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ    เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
             ตัวอย่าง    ข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                              ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
             ตัวอย่าง     ข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550

3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์   มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้นๆ ได้แก่
ข้อมูลตัวอักษร   เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .txt  และ .doc
ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่างๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรีและเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi

4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์   มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร และกราฟ
ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้

                   สารสนเทศ (Information) คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุมและการตัดสินใจ

             การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร
3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์ สารสนเทศ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากรและสารสนเทศด้านการเงิน
5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคลและสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและสารสนเทศระยะยาว
7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศปรุงแต่ง
8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุและสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมายและสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ

          คุณสมบัติของข้อมูล
                  การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักรและอุปกรณ์  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ  เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง  สามารถดำเนินการได้  ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
       1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำและอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำ มากที่สุด  โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่  มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคน หรือเครื่องจักร  การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
       2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้  มีการตอบสนองต่อ ผู้ใช้ได้ ้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการออกแบบระบบการเรียนค้นและรายงานตาม ผู้ใช้
       3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
       4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบ โครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบ คอมพิวเตอร์
       5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร  ดูสภาพการใช้ข้อมูล  ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้อง
สรุป 
                 ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนิน งาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันทีจะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
                 สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว  อาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิค ขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความ เกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่างๆ ได้  สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียงหรือรูปภาพต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียง อย่างเดียวเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain based Learning : BBL)


การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยาและนักการศึกษากลุ่มหนึ่ง ที่สนใจการทำงานของสมองมาประสานกับการจัดการศึกษา โดยนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้

หลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
เคน และเคน (Caine and Caine. 1989 : Web Site) แนะนำว่า หลักการสำคัญของการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานไม่ใช่ให้ใช้เพียงข้อเดียว แต่ให้เลือกใช้ข้อที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมากที่สุดและการเรียนการสอนบรรลุผลสูงสุดเท่าใดก็ได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้สอนซึ่งหลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมี 12 ประการ ดังนี้
1. สมองเรียนรู้พร้อมกันทุกระบบ แต่ละระบบมีหน้าที่ต่างกันและสมองเป็นผู้ดำเนินการที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันโดยผสมผสานทั้งด้านความคิดประสบการณ์และอารมณ์รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น สามารถชิมอาหารพร้อมกับได้กลิ่นของอาหาร การกระตุ้นสมองส่วนหนึ่งย่อมส่งผลกับส่วนอื่น ๆ ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างมีความสำคัญ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. การเรียนรู้มีผลมาจากด้านสรีระศาสตร์ทั้งสุขภาพพลานามัย การพักผ่อนนอนหลับ ภาวะโภชนาการ อารมณ์และความเหนื่อยล้า ซึ่งต่างส่งผลกระทบต่อการจดจำของสมองผู้สอนควรให้ความใส่ใจมิใช่สนใจเพียงเฉพาะความรู้สึกนึกคือหรือสติปัญญาด้านเดียว
3. สมองเรียนรู้โดยการหาความหมายของสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ การค้นหาความหมายเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด สมองจำเป็นต้องเก็บข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันและค้นหาความหมายเพื่อตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้นมา การสอนที่มีประสิทธิภาพต้องยอมรับว่าการให้ความหมายเป็นเอกลักษณ์แต่ละบุคคลและความเข้าใจของนักเรียนอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์แต่ละคน
4. สมองค้นหาความหมายโดยการค้นหาแบบแผน (Pattern) ในสิ่งที่เรียนรู้การค้นหาความหมาย เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบแผนขั้นตอนการจัดระบบข้อมูล เช่น 2+2 = 4,5+5 = 10, 10+10 = 20 แสดงว่าทุกครั้งที่เราบวกผลของมันจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเราสามารถเรียนรู้แบบแผนของความรู้ได้ และตรงกันข้ามเราจะเรียนรู้ได้น้อยลงเมื่อเราไม่ได้เรียนแบบแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องเชื่อมโยงความคิดที่กระจัดกระจายและข้อมูลที่หลากหลายมาจัดเป็นความคิดรวบยอดได้
5. อารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมาก อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้เราไม่สามารถแยกอารมณ์ออกจากความรู้ความเข้าใจได้และอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ
6. กระบวนการทางสมองเกิดขึ้นทั้งในส่วนรวมและส่วนย่อยในเวลาเดียวกันหากส่วนรวมหรือส่วนย่อยถูกมองข้ามไปในส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ยาก
7. สมองเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การสัมผัสจะต้องลงมือกระทำจึงเกิดการเรียนรู้หากได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมมากเท่าใดจะยิ่งเพิ่มการเรียนรู้มากเท่านั้นการเรียนรู้จากการบอกเล่า จากการฟังอย่างเดียวอาจทำให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยส่งผลให้สมองเกิดการเรียนรู้น้อยลง
8. สมองเรียนรู้ทั้งในขณะรู้ตัวและไม่รู้ตัว ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการได้รับประสบการณ์และสามารถจดจำได้ไม่เพียงแต่ฟังจากคนอื่นบอกอย่างเดียว นอกจากนี้ผู้เรียนยังต้องการ
เวลาเพื่อจะเรียนรู้ด้วย รวมทั้งผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไรเท่า ๆ กับจะเรียนรู้อะไร
9. สมองใช้การจำอย่างน้อย 2 ประเภทคือ การจำที่เกิดจากประสบการณ์ตรงและการท่องจำ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นหนักด้านการท่องจำทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้  จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสและเรียนรู้โดยตรง ผู้เรียนจึงไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากสิ่งที่ท่องจำมาได้
10. สมองเข้าใจและจดจำเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้รับการปลูกฝังอย่างเป็นธรรมชาติเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดเกิดจากประสบการณ์
11. สมองจะเรียนรู้มากขึ้นจากการท้าทายและการไม่ข่มขู่ บรรยากาศในชั้นเรียนจึงควรจะเป็นการท้าทายแต่ไม่ควรข่มขู่ผู้เรียน
12. สมองแต่ละคนเป็นลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้จึงเป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคล ในการสอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบบางคนชอบเรียน

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (วิมลรัตน์ สุมทรโรจน์. 2550 ; อ้างอิงมาจาก นิราศ  จันทรจิตร. 2553 : 339-341) จึงได้เสนอกรอบในการจัดกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ครูวางแผนในการสนทนากับนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เข้าใจในสิ่งที่จะเรียน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่จะเรียนได้
2. ขั้นตกลงกระบวนการเรียนรู้ เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนตกลงร่วมกันว่านักเรียนจะต้องทำกิจกรรมใดบ้าง อย่างไร และจะมีวิธีวัดและประเมินผลอย่างไร
3. ขั้นเสนอความรู้ใหม่ เป็นขั้นที่ครูจะต้องเชื่อมโยงประสบการณ์การต่าง ๆมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ คือ การสอนหรือการสร้างความคิดรวบยอดให้แก่นักเรียน จนเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียน
4. ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นที่นักเรียนเข้ากลุ่มแล้วร่วมมือกันเรียนรู้ และสร้างผลงานในขั้นนี้คำว่า ฝึกทักษะ หมายถึง การวิจัย การฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกตจากสิ่งแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การทำแบบฝึกการวาดภาพ และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ จนประสบผลสำเร็จได้ผลงานออกมา (ผลงานควรชัดเจนน่าสนใจ ไม่ใช่ใส่กระดาษ A4 หรือกระดาษแผ่นเล็ก ๆ แต่ควรเป็นกระดาษขนาดใหญ่ เช่นกระดาษปรู๊ฟ ใช้นำเสนออาจเป็นการเขียนธรรมดาหรือแผนผังความคิด)
5. ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นขั้นที่ตัวแทนแต่ละกลุ่มที่ได้จากการจับสลาก ออกมาเสนอผลงาน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. ขั้นสรุปความรู้ เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้แล้วให้นักเรียนทำใบงานเป็นรายบุคคล แล้วเปลี่ยนกันตรวจโดยครูและนักเรียนร่วมกันเฉลย แล้วให้นักเรียนแต่ละคนปรับปรุงผลงานตนเอง ให้ถูกต้องครูรับทราบแล้วเก็บผลงานไว้ในแฟ้มสะสมงานของตนเอง
7. ขั้นกิจกรรมเกม เป็นขั้นที่ครูจัดทำข้อสอบมาให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคลโดยไม่ซักถามกัน ส่งเป็นกลุ่มแล้วเปลี่ยนกันตรวจเป็นกลุ่ม โดยครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแล้วให้แต่ละกลุ่มหาค่าคะแนนเฉลี่ย บอกครูบันทึกไว้แล้วประกาศผลเกม กลุ่มใดได้คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นกลุ่มชนะเลิศ

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้



วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาหารยอดฮิต

การทำอาหาร "ต้มยำ"
วิชาชุมนุม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


            เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ทำเมนูต้มยำในคาบของวิชา ชุมนุม โดยมีครูมณฑนา ศรีพลอย เป็นครูผู้วิชาชุมนุมของนัหเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเป็นผู้ให้คำแนะนำในการทำอาหารในครั้งนี้ด้วย โดยครูผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่ม 4-5 คน และให้นักเรียนเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการใช้ทำอาหารเองในคาบของวิชาชุมนุม
           วัตถุประสงค์ในการทำอาหารในครั้งนี้ 
1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของอาหารและสารอาหารได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกสารอาหารประเภทต่างๆได้
3. เพื่อให้นักเรียนบอกประโยชน์ของวัตถุดิบแต่ละอย่างที่อยู่ในอาหารได้
4. เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติการทำอาหารด้วยตนเองได้

 ...วัตถุดิบที่ใช้ในการทำต้มยำ...


            วัตถุดิบที่ใช้
1. กุ้ง, ปลาหมึก, ไก่และลูกชิ้น (เลือกตามที่ต้องการใส่)
2. ตะไคร้ 1 ต้น
3. เห็ดฟางหั่นครึ่ง 12 ดอก
4. พริกขี้หนู 3-5 เม็ด (บุบพอแตก)
5. ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
6. น้ำมะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำซุปไก่ 3 ถ้วย (หรือน้ำเปล่า)
9. ผักชี สำหรัยโรยน้า
10. น้ำพริกเผา (กรณีต้องการทำเป็นต้มยำน้ำข้น)
            ขั้นตอนในการทำ
1. ล้างทำความสะอาดกุ้ง แกะเปลือกออกเหลือแต่หาง พักไว้ (ถ้าไม่มีน้ำซุปไก่ สามารถเอาหัวกุ้งและเปลือกที่แกะไปต้มทำเป็นน้ำซุป จะทำให้ต้มยำมีรสกลมกล่อมขึ้น)
2. ต้มน้ำซุป (หรือน้ำเปล่า) ในหม้อขนาดกลาง ใส่ตะไคร้ลงไปต้ม พอน้ำซุปเริ่มเดือด ใส่กุ้งและเห็ดฟาง ต้มต่อไปอีกสักพักจนกุ้งเกือบสุก จึงปิดไฟยกหม้อลง 
3. ปรุงรสด้วยพริก, น้ำมะนาวและน้ำปลา จากนั้นจึงฉีกใบมะกรูดใส่ลงไปคลุกให้ทั่ว ชิมรสให้พอดี (ถ้าต้องการทำเป็นต้มยำน้ำข้น ก็ใส่น้ำพริกเผาลงไปด้วย) 
4. ตักต้มยำใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยผักชี เสิรฟรับประทานได้ทันที

...ภาพการทำอาหาร"ต้มยำ"...
โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

  

 





วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3


       การฝึกระเบียบแถว เป็นการฝึกให้ลูกเสือเกิดความพร้อมเพรียง มีระเบียบวินัยและความสามัคคีรวมทั้งสามารถฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้
๑.  ท่าตรง
       ท่าตรง เป็นท่าเบื้องต้นและเป็นรากฐานของการปฏิบัติในท่าอื่นๆ ต่อไปและยังใช้เป็นท่าสำหรับการแสดงความเคารพได้ท่าหนึ่งด้วย
        คำบอก  "แถว-ตรง"
การปฏิบัติ
๑)  ลำตัวยืดตรง อกผาย ไหล่เสมอกัน ตามองตรง
๒)  ยืนให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้ง  ข้าง ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าแยกห่างกัน  คืบ เข่าเหยียดตึง
๓)  แขนทั้ง  ข้าง เหยียดตรงแนบลำตัว พลิกศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ตึง
๔)  นิ้วมือเหยียดและชิดกัน นิ้วกลางแตะกึ่งกลางตะเข็บกระโปรง
๕)  นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
๒.  ท่าพัก
        ท่าพัก เป็นท่าเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าตรง เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าพักตามปกติ  ใช้พักในระหว่างการฝึกสอน
        คำบอก  "พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน ต่อไปจึงหย่อนเข่าซ้ายหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ห้ามเคลื่อนที่
๒.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้ยืดตัวขึ้น สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดและจัดทุกส่วนของร่างกายให้อยู่ในท่าตรง
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "ตรง" ให้กระตุกเข่าขวากลับไปอยู่ในท่าตรง
๒)  ท่าพักตามระเบียบ ใช้พักในโอกาสรอพิธีการต่างๆ เช่น รอรับการตรวจพล สวนสนามหรือรออยู่ในแถวกองเกียรติยศ
       คำบอก  "ตามระเบียบ-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ลำตัวยืดตรง ขาทั้ง  ๒ ข้างตึง ให้น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้ง  ข้างเท่าๆกัน
๒.  แยกเท้าซ้ายออกไปข้างซ้ายประมาณครึ่งก้าว  อย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง
๓.  เอามือไขว้หลัง โดยให้หลังมือซ้ายแนบติดลำตัวในแนวกึ่งกลางหลังและอยู่ใต้เข็มขัดเล็กน้อย มือขวาทับมือซ้าย  และยื่นนิ่งๆ
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว-ตรง" ก็ให้ชักเท้าซ้ายกลับมาชิดเท้าขวา พร้อมกับทิ้งมือทั้ง  ข้าง ลงแนบลำตัว กลับมาอยู่ในท่าเดิม
๓)  ท่าพักตามสบาย  ใช้พักในโอกาสที่รอรับคำสั่งเพื่อปฏิบัติต่อไป  เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ  เช่น  เมื่อผู้ควบคุมแถวต้องไปรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
        คำบอก  "ตามสบาย-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน  ปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๒.  เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามสบาย  แต่ต้องอยู่กับที่  เช่น  จัดเครื่องแต่งกาายเรียบร้อย  จัดหมวกให้ตรง  เช็ดหน้า  ผูกเชือกรองเท้า  เป็นต้น
๓.  พูดคุยกันได้  แต่ห้ามเสียงดัง  และห้ามนั่งหากผู้กำกับไม่อนุญาต
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า  "แถว-ตรง"  ให้กลับมายืนตรงในท่าเดิมทันที  โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๔)  ท่าพักนอกแถว ใช้พักในโอกาสที่ต้องรอคำสั่ง เพื่อปฏิบัติต่อไปเป็นระยะเวลานานๆ
       คำบอก  "พักแถว"
การปฏิบัติ
๑.  ให้ทุกคนต่างแยกย้ายออกจากแถว  แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งแถว  เพื่อที่จะได้ยินเมื่อผู้กำกับเรียกเขบ้าแถวอีกครั้ง
๒.  ต้องไม่ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม  ให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้รีบกลับมาเข้าแถวตรงที่เดิมโดยเร็วในรูปแถวเดิม  และเมื่อจัดแถวเรียบร้อยแล้ว  ให้อยู่ในท่าตรงจนกว่าจะมีคำสั่งต่อไป
๓.  ท่าหันอยู่กับที่
       ท่าหันอยู่กับที่เป็นท่าที่ช่วยปรัเปลี่ยนทิศทางการหันหน้าของแถว แต่ก่อนที่จะมีคำบอกให้แถวหันไปยังด้านใด  ต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน ท่าหันอยุ่กับที่มี  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าขวาหัน เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านขวา
       คำบอก  "ขวา-หัน"
การปฏิบัติ
     จังหวะที่ 
๑.  เปิดปลายเท้าขวา  และยกส้นเท้าซ้ายแล้วหันตัวไปทางขวาเป็นมุม  ๙๐  องศา
๒.  หมุนเท้าทั้ง    ข้างตาม  โดยให้ส้นเท้าและปลายเท้าซึ่งเป็นหลัก  ติดอยู่กับพื้น
๓.  ให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา  ขาซ้ายเหยียดตึงบิดส้นเท้าซ้ายออกข้างนอกเล็กน้อย
๔.  ลำตัวยืดตรง  แขนแนบชิดกับลำตัว
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง 
๒)  ท่าซ้ายหัน  เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านซ้าย
        คำบอก  "ซ้าย-หัน"
การปฏิบัติ
๑.  ปฏิบัติเป็น  จังหวะ เช่นเดียวกับท่าขวาหัน แต่เปลี่ยนหันไปทางซ้ายแทน
๒.  ให้เท้าซ้ายเป็นหลักอยู่กับที่แล้วดึงเท้าขวามาชิด
๓)  ท่ากลับหลังหัน  เป็นท่าที่เปลี่ยนการหันหน้าของแถว  จากด้านหน้าเป็นด้านหลัง
        คำบอก  "กลับหลัง-หัน"
การปฏิบัติ
    จังหวะที่ 
๑.  มีขั้นตอนเช่นเดียวกับท่าขวาหัน  จังหวะที่    แต่หันเลยไปจนกลับจากหน้าเป็นหลังครบ  ๑๘๐  องศา
๒.  ปลายเท้าซ้ายหันไปหยุดอยู่ข้างหลัง  เฉียงซ้ายประมาณครึ่งก้าวและอยู่ในแนวส้นเท้าขวา
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
๔.  ท่าเดิน
       ท่าเดิน เป็นท่าที่ช่วยทำให้การเคลื่อนย้ายหรือการเดินขบวนของแถว ดูเป็นระเบียบสง่างาม ก่อนที่จะมีคำบอกให้เดินต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน
        คำบอก  "หน้า-เดิน"
การปฏิบัติ
๑)  โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อน
๒)  ขาเหยียดตรง ปลายเท้างุ้ม ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ  คืบ
๓)  เมื่อตบเท้าซ้ายลงกับพื้นแล้ว จึงเคลื่อนเท้าขวาตาม โดยเดินตบเท้าซ้ายและขวาสลับกันเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง
๔)  ลำตัวและศรีษะอยู่ในท่ายืนตรงเสมอ
๕)  แขนเหยียดตึง ให้เฉียงไปข้างหน้าและข้างหลังพองาม โดยแกว่งแขนตามปกติ
๖)  การเดินเป็นหมู่ ต้องเดินให้พร้อมกัน ถ้ามีจังหวะต้องเดินให้เข้าจังหวะ
๕.  ท่าหยุด
       ท่าหยุด จะเป็นท่าที่ติดตามมาจากท่าเดิน ซึ่งช่วยทำให้การหยุดแถวของลูกเสือมีความพร้อมเพรียงกัน
       คำบอก  "แถว-หยุด"
การปฏิบัติ
    ในขณะที่กำลังเดินตามปกติ เมื่อได้ยินคำบอก "แถว-หยุด" ไม่ว่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งจะตกถึงพื้นก็ตามให้ปฏิบัติเป็น 
 จังหวะ คือ
จังหวะที่    ก้าวเท้าต่อไปอีก  ก้าว
จังหวะที่    ชักเท้าหลังชิดเท้าหน้าในลักษณะท่าตรงอย่างแข็งแรง
....ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน....










  

 วิดีโอการจัดระเบียบแถว