วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาหารยอดฮิต

การทำอาหาร "ต้มยำ"
วิชาชุมนุม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


            เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ทำเมนูต้มยำในคาบของวิชา ชุมนุม โดยมีครูมณฑนา ศรีพลอย เป็นครูผู้วิชาชุมนุมของนัหเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเป็นผู้ให้คำแนะนำในการทำอาหารในครั้งนี้ด้วย โดยครูผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่ม 4-5 คน และให้นักเรียนเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการใช้ทำอาหารเองในคาบของวิชาชุมนุม
           วัตถุประสงค์ในการทำอาหารในครั้งนี้ 
1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของอาหารและสารอาหารได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกสารอาหารประเภทต่างๆได้
3. เพื่อให้นักเรียนบอกประโยชน์ของวัตถุดิบแต่ละอย่างที่อยู่ในอาหารได้
4. เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติการทำอาหารด้วยตนเองได้

 ...วัตถุดิบที่ใช้ในการทำต้มยำ...


            วัตถุดิบที่ใช้
1. กุ้ง, ปลาหมึก, ไก่และลูกชิ้น (เลือกตามที่ต้องการใส่)
2. ตะไคร้ 1 ต้น
3. เห็ดฟางหั่นครึ่ง 12 ดอก
4. พริกขี้หนู 3-5 เม็ด (บุบพอแตก)
5. ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
6. น้ำมะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำซุปไก่ 3 ถ้วย (หรือน้ำเปล่า)
9. ผักชี สำหรัยโรยน้า
10. น้ำพริกเผา (กรณีต้องการทำเป็นต้มยำน้ำข้น)
            ขั้นตอนในการทำ
1. ล้างทำความสะอาดกุ้ง แกะเปลือกออกเหลือแต่หาง พักไว้ (ถ้าไม่มีน้ำซุปไก่ สามารถเอาหัวกุ้งและเปลือกที่แกะไปต้มทำเป็นน้ำซุป จะทำให้ต้มยำมีรสกลมกล่อมขึ้น)
2. ต้มน้ำซุป (หรือน้ำเปล่า) ในหม้อขนาดกลาง ใส่ตะไคร้ลงไปต้ม พอน้ำซุปเริ่มเดือด ใส่กุ้งและเห็ดฟาง ต้มต่อไปอีกสักพักจนกุ้งเกือบสุก จึงปิดไฟยกหม้อลง 
3. ปรุงรสด้วยพริก, น้ำมะนาวและน้ำปลา จากนั้นจึงฉีกใบมะกรูดใส่ลงไปคลุกให้ทั่ว ชิมรสให้พอดี (ถ้าต้องการทำเป็นต้มยำน้ำข้น ก็ใส่น้ำพริกเผาลงไปด้วย) 
4. ตักต้มยำใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยผักชี เสิรฟรับประทานได้ทันที

...ภาพการทำอาหาร"ต้มยำ"...
โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

  

 





วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3


       การฝึกระเบียบแถว เป็นการฝึกให้ลูกเสือเกิดความพร้อมเพรียง มีระเบียบวินัยและความสามัคคีรวมทั้งสามารถฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้
๑.  ท่าตรง
       ท่าตรง เป็นท่าเบื้องต้นและเป็นรากฐานของการปฏิบัติในท่าอื่นๆ ต่อไปและยังใช้เป็นท่าสำหรับการแสดงความเคารพได้ท่าหนึ่งด้วย
        คำบอก  "แถว-ตรง"
การปฏิบัติ
๑)  ลำตัวยืดตรง อกผาย ไหล่เสมอกัน ตามองตรง
๒)  ยืนให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้ง  ข้าง ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าแยกห่างกัน  คืบ เข่าเหยียดตึง
๓)  แขนทั้ง  ข้าง เหยียดตรงแนบลำตัว พลิกศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ตึง
๔)  นิ้วมือเหยียดและชิดกัน นิ้วกลางแตะกึ่งกลางตะเข็บกระโปรง
๕)  นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
๒.  ท่าพัก
        ท่าพัก เป็นท่าเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าตรง เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าพักตามปกติ  ใช้พักในระหว่างการฝึกสอน
        คำบอก  "พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน ต่อไปจึงหย่อนเข่าซ้ายหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ห้ามเคลื่อนที่
๒.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้ยืดตัวขึ้น สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดและจัดทุกส่วนของร่างกายให้อยู่ในท่าตรง
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "ตรง" ให้กระตุกเข่าขวากลับไปอยู่ในท่าตรง
๒)  ท่าพักตามระเบียบ ใช้พักในโอกาสรอพิธีการต่างๆ เช่น รอรับการตรวจพล สวนสนามหรือรออยู่ในแถวกองเกียรติยศ
       คำบอก  "ตามระเบียบ-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ลำตัวยืดตรง ขาทั้ง  ๒ ข้างตึง ให้น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้ง  ข้างเท่าๆกัน
๒.  แยกเท้าซ้ายออกไปข้างซ้ายประมาณครึ่งก้าว  อย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง
๓.  เอามือไขว้หลัง โดยให้หลังมือซ้ายแนบติดลำตัวในแนวกึ่งกลางหลังและอยู่ใต้เข็มขัดเล็กน้อย มือขวาทับมือซ้าย  และยื่นนิ่งๆ
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว-ตรง" ก็ให้ชักเท้าซ้ายกลับมาชิดเท้าขวา พร้อมกับทิ้งมือทั้ง  ข้าง ลงแนบลำตัว กลับมาอยู่ในท่าเดิม
๓)  ท่าพักตามสบาย  ใช้พักในโอกาสที่รอรับคำสั่งเพื่อปฏิบัติต่อไป  เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ  เช่น  เมื่อผู้ควบคุมแถวต้องไปรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
        คำบอก  "ตามสบาย-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน  ปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๒.  เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามสบาย  แต่ต้องอยู่กับที่  เช่น  จัดเครื่องแต่งกาายเรียบร้อย  จัดหมวกให้ตรง  เช็ดหน้า  ผูกเชือกรองเท้า  เป็นต้น
๓.  พูดคุยกันได้  แต่ห้ามเสียงดัง  และห้ามนั่งหากผู้กำกับไม่อนุญาต
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า  "แถว-ตรง"  ให้กลับมายืนตรงในท่าเดิมทันที  โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๔)  ท่าพักนอกแถว ใช้พักในโอกาสที่ต้องรอคำสั่ง เพื่อปฏิบัติต่อไปเป็นระยะเวลานานๆ
       คำบอก  "พักแถว"
การปฏิบัติ
๑.  ให้ทุกคนต่างแยกย้ายออกจากแถว  แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งแถว  เพื่อที่จะได้ยินเมื่อผู้กำกับเรียกเขบ้าแถวอีกครั้ง
๒.  ต้องไม่ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม  ให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้รีบกลับมาเข้าแถวตรงที่เดิมโดยเร็วในรูปแถวเดิม  และเมื่อจัดแถวเรียบร้อยแล้ว  ให้อยู่ในท่าตรงจนกว่าจะมีคำสั่งต่อไป
๓.  ท่าหันอยู่กับที่
       ท่าหันอยู่กับที่เป็นท่าที่ช่วยปรัเปลี่ยนทิศทางการหันหน้าของแถว แต่ก่อนที่จะมีคำบอกให้แถวหันไปยังด้านใด  ต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน ท่าหันอยุ่กับที่มี  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าขวาหัน เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านขวา
       คำบอก  "ขวา-หัน"
การปฏิบัติ
     จังหวะที่ 
๑.  เปิดปลายเท้าขวา  และยกส้นเท้าซ้ายแล้วหันตัวไปทางขวาเป็นมุม  ๙๐  องศา
๒.  หมุนเท้าทั้ง    ข้างตาม  โดยให้ส้นเท้าและปลายเท้าซึ่งเป็นหลัก  ติดอยู่กับพื้น
๓.  ให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา  ขาซ้ายเหยียดตึงบิดส้นเท้าซ้ายออกข้างนอกเล็กน้อย
๔.  ลำตัวยืดตรง  แขนแนบชิดกับลำตัว
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง 
๒)  ท่าซ้ายหัน  เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านซ้าย
        คำบอก  "ซ้าย-หัน"
การปฏิบัติ
๑.  ปฏิบัติเป็น  จังหวะ เช่นเดียวกับท่าขวาหัน แต่เปลี่ยนหันไปทางซ้ายแทน
๒.  ให้เท้าซ้ายเป็นหลักอยู่กับที่แล้วดึงเท้าขวามาชิด
๓)  ท่ากลับหลังหัน  เป็นท่าที่เปลี่ยนการหันหน้าของแถว  จากด้านหน้าเป็นด้านหลัง
        คำบอก  "กลับหลัง-หัน"
การปฏิบัติ
    จังหวะที่ 
๑.  มีขั้นตอนเช่นเดียวกับท่าขวาหัน  จังหวะที่    แต่หันเลยไปจนกลับจากหน้าเป็นหลังครบ  ๑๘๐  องศา
๒.  ปลายเท้าซ้ายหันไปหยุดอยู่ข้างหลัง  เฉียงซ้ายประมาณครึ่งก้าวและอยู่ในแนวส้นเท้าขวา
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
๔.  ท่าเดิน
       ท่าเดิน เป็นท่าที่ช่วยทำให้การเคลื่อนย้ายหรือการเดินขบวนของแถว ดูเป็นระเบียบสง่างาม ก่อนที่จะมีคำบอกให้เดินต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน
        คำบอก  "หน้า-เดิน"
การปฏิบัติ
๑)  โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อน
๒)  ขาเหยียดตรง ปลายเท้างุ้ม ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ  คืบ
๓)  เมื่อตบเท้าซ้ายลงกับพื้นแล้ว จึงเคลื่อนเท้าขวาตาม โดยเดินตบเท้าซ้ายและขวาสลับกันเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง
๔)  ลำตัวและศรีษะอยู่ในท่ายืนตรงเสมอ
๕)  แขนเหยียดตึง ให้เฉียงไปข้างหน้าและข้างหลังพองาม โดยแกว่งแขนตามปกติ
๖)  การเดินเป็นหมู่ ต้องเดินให้พร้อมกัน ถ้ามีจังหวะต้องเดินให้เข้าจังหวะ
๕.  ท่าหยุด
       ท่าหยุด จะเป็นท่าที่ติดตามมาจากท่าเดิน ซึ่งช่วยทำให้การหยุดแถวของลูกเสือมีความพร้อมเพรียงกัน
       คำบอก  "แถว-หยุด"
การปฏิบัติ
    ในขณะที่กำลังเดินตามปกติ เมื่อได้ยินคำบอก "แถว-หยุด" ไม่ว่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งจะตกถึงพื้นก็ตามให้ปฏิบัติเป็น 
 จังหวะ คือ
จังหวะที่    ก้าวเท้าต่อไปอีก  ก้าว
จังหวะที่    ชักเท้าหลังชิดเท้าหน้าในลักษณะท่าตรงอย่างแข็งแรง
....ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน....










  

 วิดีโอการจัดระเบียบแถว

วันวิทยาศาสตร์

โครงการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


        เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง คือ วันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ซึ่งทางโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง) ก็ได้ให้ความสำคัญกับวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา (นางรสสุคนธ์ กอและ) ได้จัดโครงการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (สัปดาห์วิทยาศาสตร์) ให้กับนักเรียน ณ ห้องประชุมบุษราคัม โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง) เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้และมีจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์คิดค้นพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อไปได้ เป็นต้น 
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....

       





โครงการพัฒนาผู้เรียน

โครงการบูรณาการวิชาการ



            เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง) ได้จัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยมี นางรสสุคนธ์ กอและ (ผู้อำนวยการสถานศึกษา) เป็นประธานในพิธีการเปฺิดกิจกรรมในครั้งนี้ โครงการที่จัดขึ้นเป็นโครงการบูรณาการวิชาการระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาคอมพิวเตอร์ โดยนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 ถึง 3 เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย ภายในโครงการจะประกอบไปด้วย 6 ฐาน ดังนี้ ฐานเปิดโลก ICT สู่อาชีพ, ฐานเปิดโลก IT สู่อนาคต, ฐานเปลวไฟลอยน้ำ, ฐานสีเริงระบำ, ฐานการทดสอบหาแป้งในยาสีฟันและฐานกระแสไฟฟ้าจากผลไม้ เป็นต้น 

ฐานที่ 1 เปิดโลก ICT สู่อาชีพ


วัตถุดิบ
1. แป้งข้าวเหนียว              2. น้ำตาลแว่น
3. มะพร้าวขาวขูด              4. เกลือป่น
5. แครอท, อัญชัน, ใบเตย, ฟักทอง

วิธีทำ
1. นำแครอท, อัญชัน, ใบเตย, และฟักทอง มาหันเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อนำมาปั่น แล้วคั้นน้ำของแต่ละสีลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2. นำน้ำตาลแว่นมาหั่นให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ เตรียมน้ำที่สะอาด แล้วนำมาต้มให้เดือด
3. นำแป้งข้าวเหนียวใส่ลงในภาชนะ จากนั้นเอาน้ำที่คั้นไว้แล้ว 1 สีเทลงในแป้งจากนั้นนวดให้เข้ากัน ให้ปั้นเป็นก้อน แล้วกดให้แบน เอาน้ำตาลแว่นที่ตัดไว้ มาวางบนแป้ง แล้วปิดให้มิด
4. ใส่ก้อนแป้งที่ทำเสร็จแล้วลงไปต้ม พอแป้งสุก จะลอยตัวขึ้น ให้ตักใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ เอาลงไปคลุกกับมะพร้าวขูดผสมกับเกลือให้ทั่ว แล้วเอาใส่จาน
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....




ฐานที่ 2 โลก IT สู่อนาคต


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเกม
1. โปรเจคเตอร์
2. โน๊ตบุ๊ค

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในการสร้างเกมอย่างง่าย
       โปรแกรม Kodu  GAME LAB จากค่าย Microsoft เป็นโปรแกรมให้ใช้ฟรี ! โปรแกรมนี้มีกราฟฟิกสวยงาม ความสามารถพอตัว เหมาะใช้สอนการสร้างเกมให้กับเด็กๆ
      การสร้างเกมใน Kodu ใช้การคลิกไอคอนเป็นหลัก (icon-based) ตั้งแต่ออกแบบโลก 3 มิติของเกม สร้างตัวละครในเกม การดำเนินเรื่อง รวมถึงการเขียนโปรแกรมตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกม สิ่งหนึ่งที่หน้าสนใจกับโปรแกรมนี้ ก็คือนอกจากจะเขียนเกมด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดแล้ว ยังสามารถใช้เกมแพด (Gamepad) ในการเขียนเกมได้ เกมแพดใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกมไปในตัวระหว่างการสร้างเกม
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....


ฐานที่ 3 เปลวไฟลอยน้ำ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. เทียนไข
2. แก้วน้ำ
3. หมุดตัวหมวก หรือตะปูเกลียวเล็ก

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 ของแก้ว
2. นำหมุดหัวหมวกติดที่ปลายเทียนไข (ด้านป้าน)
3. หย่อนเทียนไขลงในน้ำ เทียนไขจะตั้งตรง
4. จุดเทียนไข เทียนไขจะติดไฟไปเรื่อย ๆ ไม่ดับ
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....



ฐานที่ 4 สีเริงระบำ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. นมสด             2. สีผสมอาหาร 2-3 สี
3. น้ำยาล้างจาน    4. จานโฟม
5. หลอดทดลอง

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้น้ำนมนิ่ง
2. หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1 หยด
3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปบนสีผสมอาหาร ทีละ 1 หยด และยังสามารถหยดน้ำยาล้างจานลงไปซ้ำได้เรื่อยๆ จนกว่าน้ำสีจะผสมกันจนกลายเป็นสีหม่นๆ


ฐานที่ 5 การทดสอบหาแป้งในยาสีฟัน


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. ยาสีฟัน                                    2. น้ำเปล่า
3. แก้วน้ำแบบใส                           4. หลอดหยด จำนวน 4 หลอด          
5. ช้อนสำหรับคน  จำนวน 4 อัน        6. ช้อนตวง                     
7. สารละลายไอโอดีน

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม
2. นำแก้วน้ำมาวางเรียงกัน ตักยาสีฟัน ทั้ง 4 ยี่ห้อ ใส่ลงในแก้วที่เตรียมไว้
3. เทน้ำเปล่าใส่ลงในแก้วน้ำใช้แท่งคนแก้วคนน้ำเปล่าและยาสีฟันให้ละลายเข้ากัน นำหลอดหยดที่บรรจุสารละลาย แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนสี 
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....



ฐานที่ 6 กระแสไฟฟ้าจากผลไม้


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. แอมมิเตอร์ เพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้า                2. หลอด LED
3. แผ่นทองแดงและ แผ่นสังกะสี                     4. สายไฟ
5. ผลไม้ (มะนาว ส้ม สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล)

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. เตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง
2. นำแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีมาเสียบลงในผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ลึกประมาณ 1-๒ ซม.
3. นำสายสีแดงของแอมมิเตอร์จับที่ขั้วบวก (ทองแดง) และสายสีดำจับที่ขั้วลบ (สังกะสี) อ่านค่าบนเครื่องแอมมิเตอร์ แล้วบันทึกผล
4. เปลี่ยนจากเครื่องแอมมิเตอร์เป็นหลอดไฟ LED ของผลไม้ทั้ง 5 ชนิด สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟ (ไฟสว่างหรือไม่สว่าง)
....ภาพประกอบการทำกิจกรรม....