วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ

การจัดระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3


       การฝึกระเบียบแถว เป็นการฝึกให้ลูกเสือเกิดความพร้อมเพรียง มีระเบียบวินัยและความสามัคคีรวมทั้งสามารถฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้
๑.  ท่าตรง
       ท่าตรง เป็นท่าเบื้องต้นและเป็นรากฐานของการปฏิบัติในท่าอื่นๆ ต่อไปและยังใช้เป็นท่าสำหรับการแสดงความเคารพได้ท่าหนึ่งด้วย
        คำบอก  "แถว-ตรง"
การปฏิบัติ
๑)  ลำตัวยืดตรง อกผาย ไหล่เสมอกัน ตามองตรง
๒)  ยืนให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้ง  ข้าง ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าแยกห่างกัน  คืบ เข่าเหยียดตึง
๓)  แขนทั้ง  ข้าง เหยียดตรงแนบลำตัว พลิกศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ตึง
๔)  นิ้วมือเหยียดและชิดกัน นิ้วกลางแตะกึ่งกลางตะเข็บกระโปรง
๕)  นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
๒.  ท่าพัก
        ท่าพัก เป็นท่าเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าตรง เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าพักตามปกติ  ใช้พักในระหว่างการฝึกสอน
        คำบอก  "พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน ต่อไปจึงหย่อนเข่าซ้ายหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ห้ามเคลื่อนที่
๒.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้ยืดตัวขึ้น สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดและจัดทุกส่วนของร่างกายให้อยู่ในท่าตรง
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "ตรง" ให้กระตุกเข่าขวากลับไปอยู่ในท่าตรง
๒)  ท่าพักตามระเบียบ ใช้พักในโอกาสรอพิธีการต่างๆ เช่น รอรับการตรวจพล สวนสนามหรือรออยู่ในแถวกองเกียรติยศ
       คำบอก  "ตามระเบียบ-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ลำตัวยืดตรง ขาทั้ง  ๒ ข้างตึง ให้น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้ง  ข้างเท่าๆกัน
๒.  แยกเท้าซ้ายออกไปข้างซ้ายประมาณครึ่งก้าว  อย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง
๓.  เอามือไขว้หลัง โดยให้หลังมือซ้ายแนบติดลำตัวในแนวกึ่งกลางหลังและอยู่ใต้เข็มขัดเล็กน้อย มือขวาทับมือซ้าย  และยื่นนิ่งๆ
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว-ตรง" ก็ให้ชักเท้าซ้ายกลับมาชิดเท้าขวา พร้อมกับทิ้งมือทั้ง  ข้าง ลงแนบลำตัว กลับมาอยู่ในท่าเดิม
๓)  ท่าพักตามสบาย  ใช้พักในโอกาสที่รอรับคำสั่งเพื่อปฏิบัติต่อไป  เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ  เช่น  เมื่อผู้ควบคุมแถวต้องไปรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
        คำบอก  "ตามสบาย-พัก"
การปฏิบัติ
๑.  ให้หย่อนเข่าขวาก่อน  ปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๒.  เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามสบาย  แต่ต้องอยู่กับที่  เช่น  จัดเครื่องแต่งกาายเรียบร้อย  จัดหมวกให้ตรง  เช็ดหน้า  ผูกเชือกรองเท้า  เป็นต้น
๓.  พูดคุยกันได้  แต่ห้ามเสียงดัง  และห้ามนั่งหากผู้กำกับไม่อนุญาต
๔.  เมื่อได้ยินคำว่า  "แถว-ตรง"  ให้กลับมายืนตรงในท่าเดิมทันที  โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าพักตามปกติ
๔)  ท่าพักนอกแถว ใช้พักในโอกาสที่ต้องรอคำสั่ง เพื่อปฏิบัติต่อไปเป็นระยะเวลานานๆ
       คำบอก  "พักแถว"
การปฏิบัติ
๑.  ให้ทุกคนต่างแยกย้ายออกจากแถว  แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งแถว  เพื่อที่จะได้ยินเมื่อผู้กำกับเรียกเขบ้าแถวอีกครั้ง
๒.  ต้องไม่ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม  ให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น
๓.  เมื่อได้ยินคำว่า "แถว" ให้รีบกลับมาเข้าแถวตรงที่เดิมโดยเร็วในรูปแถวเดิม  และเมื่อจัดแถวเรียบร้อยแล้ว  ให้อยู่ในท่าตรงจนกว่าจะมีคำสั่งต่อไป
๓.  ท่าหันอยู่กับที่
       ท่าหันอยู่กับที่เป็นท่าที่ช่วยปรัเปลี่ยนทิศทางการหันหน้าของแถว แต่ก่อนที่จะมีคำบอกให้แถวหันไปยังด้านใด  ต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน ท่าหันอยุ่กับที่มี  ท่า ดังนี้
๑)  ท่าขวาหัน เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านขวา
       คำบอก  "ขวา-หัน"
การปฏิบัติ
     จังหวะที่ 
๑.  เปิดปลายเท้าขวา  และยกส้นเท้าซ้ายแล้วหันตัวไปทางขวาเป็นมุม  ๙๐  องศา
๒.  หมุนเท้าทั้ง    ข้างตาม  โดยให้ส้นเท้าและปลายเท้าซึ่งเป็นหลัก  ติดอยู่กับพื้น
๓.  ให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา  ขาซ้ายเหยียดตึงบิดส้นเท้าซ้ายออกข้างนอกเล็กน้อย
๔.  ลำตัวยืดตรง  แขนแนบชิดกับลำตัว
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง 
๒)  ท่าซ้ายหัน  เป็นท่าที่ทำให้แถวหันไปทางด้านซ้าย
        คำบอก  "ซ้าย-หัน"
การปฏิบัติ
๑.  ปฏิบัติเป็น  จังหวะ เช่นเดียวกับท่าขวาหัน แต่เปลี่ยนหันไปทางซ้ายแทน
๒.  ให้เท้าซ้ายเป็นหลักอยู่กับที่แล้วดึงเท้าขวามาชิด
๓)  ท่ากลับหลังหัน  เป็นท่าที่เปลี่ยนการหันหน้าของแถว  จากด้านหน้าเป็นด้านหลัง
        คำบอก  "กลับหลัง-หัน"
การปฏิบัติ
    จังหวะที่ 
๑.  มีขั้นตอนเช่นเดียวกับท่าขวาหัน  จังหวะที่    แต่หันเลยไปจนกลับจากหน้าเป็นหลังครบ  ๑๘๐  องศา
๒.  ปลายเท้าซ้ายหันไปหยุดอยู่ข้างหลัง  เฉียงซ้ายประมาณครึ่งก้าวและอยู่ในแนวส้นเท้าขวา
    จังหวะที่ 
ให้ชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
๔.  ท่าเดิน
       ท่าเดิน เป็นท่าที่ช่วยทำให้การเคลื่อนย้ายหรือการเดินขบวนของแถว ดูเป็นระเบียบสง่างาม ก่อนที่จะมีคำบอกให้เดินต้องให้แถวอยู่ในท่าตรงเสียก่อน
        คำบอก  "หน้า-เดิน"
การปฏิบัติ
๑)  โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อน
๒)  ขาเหยียดตรง ปลายเท้างุ้ม ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ  คืบ
๓)  เมื่อตบเท้าซ้ายลงกับพื้นแล้ว จึงเคลื่อนเท้าขวาตาม โดยเดินตบเท้าซ้ายและขวาสลับกันเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง
๔)  ลำตัวและศรีษะอยู่ในท่ายืนตรงเสมอ
๕)  แขนเหยียดตึง ให้เฉียงไปข้างหน้าและข้างหลังพองาม โดยแกว่งแขนตามปกติ
๖)  การเดินเป็นหมู่ ต้องเดินให้พร้อมกัน ถ้ามีจังหวะต้องเดินให้เข้าจังหวะ
๕.  ท่าหยุด
       ท่าหยุด จะเป็นท่าที่ติดตามมาจากท่าเดิน ซึ่งช่วยทำให้การหยุดแถวของลูกเสือมีความพร้อมเพรียงกัน
       คำบอก  "แถว-หยุด"
การปฏิบัติ
    ในขณะที่กำลังเดินตามปกติ เมื่อได้ยินคำบอก "แถว-หยุด" ไม่ว่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งจะตกถึงพื้นก็ตามให้ปฏิบัติเป็น 
 จังหวะ คือ
จังหวะที่    ก้าวเท้าต่อไปอีก  ก้าว
จังหวะที่    ชักเท้าหลังชิดเท้าหน้าในลักษณะท่าตรงอย่างแข็งแรง
....ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน....










  

 วิดีโอการจัดระเบียบแถว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น